วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Coke's History



โค้กถูกคิดค้นโดย ดร.จอห์น เพ็มเบอร์ตัน ที่เมืองแอตแลนต้าในมลรัฐจอร์เจีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1886 เภสัชกรท้องถิ่นท่านนี้เป็นผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวานมีเรื่องเล่ากันต่อมาว่าเมื่อ ดร.เพมเบอร์ตัน ปรุงหัวเชื้อน้ำหวาน ขึ้นมา ได้สำเร็จในหม้อทองเหลืองสามขา ซึ่งตั้งอยู่ในสนามหญ้าหลังบ้านของเขา ชายผู้นี้ก็รีบถือเหยือกที่บรรจุ น้ำหวานรสชาติใหม่ มุ่งตรงไปยังร้านขายยาจาค็อป ณ ที่นั่น หลายต่อหลายคน ได้ลิ้มลองน้ำหวานของ ดร.เพ็มเบอร์ตัน ต่างก็ชมเป็นเสียง เดียวกันว่า "รสชาติเยี่ยม" หลังจากนั้นไม่นาน ดร.เพ็มเบอร์ตัน ก็เริ่มปรุงเครื่องดื่มชนิดนี้ขายที่ร้านจาค็อปส์โดยคิดราคาแก้วละ 5 เซ็นต์ ต่อมาไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจหรือไม่ ได้มีผู้นำน้ำอัดก๊าซคาร์บอนมาผสมกับหัวน้ำหวานที่ ดร.เพ็มเบอร์ตันปรุงขึ้น จนกลายเป็นเครื่องดื่มที่ "สดชื่น ดับกระหาย ได้รสชาติ" แม้จนกระทั่ง ในปัจจุบัน ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ดื่ม โคคา-โคลา ก็ต้องรู้สึกเช่นนั้น


มร.แฟรงค์ เอ็ม โรบินสัน หุ้นส่วนและสมุหบัญชีของ ดร.เพ็มเบอร์ตัน ออกความ เห็นว่า "ถ้าใช้ตัวอักษร C สองตัว ในโฆษณาเครื่องดื่มชนิดนี้ก็น่าจะเข้าท่าดี" ดังนั้น เขาจึงแนะให้ตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่า "Coca-Cola" เมื่อตกลงใจดังนั้น มร.โรบินสัน ก็เขียน คำว่าโคคา-โคลา ด้วยลายมือของเขาเอง ซึ่งต่อมาได้กลาย เป็นเครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก โฆษณาชิ้นแรกของ โคคา-โคลา ปรากฎในหนังสือพิมพ์แอตแลนต้า เจอร์นัล มีข้อความเชิญชวนให้ ผู้กระหายน้ำทั้งหลาย หันมาลอง "เครื่องดื่มชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม"





นอกจากนั้น ยังแขวนป้ายโฆษณาที่ทำจากผ้าอาบน้ำมันไว้ที่กันสาดหน้าร้านจาค็อปส์ โดยมีการระบุคำว่า "โคคา-โคลา" อยู่และเหนือคำว่า โคคา-โคลา ก็เติมคำว่า "ดื่ม" เพื่อให้คนอ่านทราบว่า มีเครื่องดื่มชนิดใหม่วางขายอยู่ในช่วงปีแรก โคคา-โคลา มียอดขายประมาณ 9 แก้ว ต่อวัน ดร.เพ็มเบอร์ตัน ไม่คิดเลยว่าเครื่องดื่มที่เขาคิดค้นขึ้นจะทำกำไรมากมาย เขาจึง จัดแจงขายหุ้นกิจการโคคา-โคลา ในส่วนของเขาให้ผู้ถือหุ้นคนอื่นๆจนเกือบหมด หลังจากดำเนินการมาได้ไม่นาน และก่อนหน้าที่ ดร.เพ็มเบอร์ตันจะถึงแก่กรรม เพียงไม่กี่ปี เขาก็ขายหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดให้กับ อาซา จี. แคนเลอร์ นักธุรกิจ ชาวเมืองแอตแลนต้าผู้มีพรสวรรค์ทางการค้าต่อมา มร.แคนเลอร์ คนนี้เองก็กว้าน ซื้อหุ้นทั้งหมดจนกลายเป็นเจ้าของกิจการ โคคา-โคลา เพียงผู้เดียว


ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที 19 ในระหว่างการบูรณะประเทศหลังสงคราม ผู้ประกอบการพยายามชูโค้กให้เป็นเครื่องดื่มที่ปริ่มล้นด้วยคุณสมบัติของ “ยาบำรุงสมอง” ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะในยุคของ “การสร้างบ้านแปลงเมือง” และในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง โค้กจึงได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่โดยการนำซานตาคลอสมาใช้ในการโฆษณาเพื่อสื่อถึง “ความฟุ่มเฟือยที่ท่านมีกำลังซื้อ” และในหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โค้กได้ก้าวไปพร้อมๆกับโลกที่พยายามแสวงหาสันติภาพ



โค้กมีภาพของอเมริกาที่หรูหรา ร่ำรวย และรักชาติ มีคุณสมบัติที่มองไปข้างหน้าเสมอ ในระยะเริ่มต้นผู้บริโภครักโค้กเพราะโค้กเป็นของใหม่และแตกต่าง และบางทีอาจเป็นเพราะโค้กสามารถรักษาอาการป่วยของพวกเขาได้จริง ต่อมาพวกเขาถือว่าโค้กเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัยที่ผ่านมาและผ่านไป


โค้กใช้เวลาไม่นานก็ประสบความสำเร็จในอเมริการวมและตอกย้ำชัยชนะนั้นไปทั่วโลกกลายเป็นแบรนด์ที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุด





ค้กผ่านศตวรรษแรกของธุรกิจไปด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม ผู้ประกอบการได้วางแผนธุรกิจสำหรับอนาคตเพื่อควบคุมธุรกิจจากบนลงล่าง ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท จากยุคแรกๆที่จัดจำหน่ายเพียงหัวเชื้อของผลิตภัณฑ์ ส่วนการบรรจุขวดและจัดจำหน่ายเป็นของผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ ดังนั้นโค้กจึงได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่เป็นโค้กชนิดพกพา นั่นคือการควบรวบทั้งการผลิตหัวเชื้อและการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งส่งผลต่อยอดขายที่มากขึ้นกว่ายอดขายจากการจัดจำหน่ายหัวเชื้อเพียงอย่างเดียว แต่นั่นกลับทำให้บริษัทโคคา โคล่ายุ่งยากมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการแต่ละรายก็ต่างที่จะแย่งชิงตลาดโค้กขวด ดังนั้นบริษัทโคคา โคล่า จึงต้องล้มล้างอำนาจของผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยใช้กลยุทธ์ที่กลับไปสู่จุดเริ่มต้นทั้งหมด





จนกระทั่งปี 1981 โค้กประสบความสำเร็จจากกลุ่มผู้บริหารภายใต้การนำของโรแบร์โต กอยซูเอตาและ ดั๊ก ไอเวสเตอร์ที่มีวิสัยทัศน์ในการวางรากฐานกลยุทธ์ ได้พลิกตัวเองขึ้นมาใหม่โดยมุ่งทำงานเพื่อประโยชน์ของนักลงทุนซึ่งทำให้โค้กมีอำนาจผูกขาดในธุรกิจการบรรจุและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว


โคคา-โคล่า ถือได้ว่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่อยู่ในใจของผู้บริโภคมาตลอดกว่า 100 ปี จนกระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของโลกได้




โค้ก


เชอร์รี่ โค้ก


โค้ก ไดเอท


วานิลลาโค้ก (เลิกผลิตในปี2005)


ไลม์โค้ก


โค้ก C2


โค้กแบล๊ก (โค้กผสมกาแฟ เลิกผลิตเมื่อต้นปี 2008)



โค้กซีโร่ (โค้กที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล)



โค้ก ออเรนจ์


โค้กแบล๊กเชอร์รี่วานิลลา


โค้กซิตร้า(มีขายแค่ในญี่ปุ่นและบางประเทศในยุโรป)


โค้กไลท์ซังโก (มีขายเฉพาะที่ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น